วิศวกรนาซา ร่วม ม.เกษตร ภารกิจวางระบบการสร้างเพย์โหลด

วิศวกรนาซา ร่วม ม.เกษตร ภารกิจวางระบบการสร้างเพย์โหลด

ผศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม อาจารย์ผู้วิจัยหลักในโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยในอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยภายหลัง Mr.Tyler Hatch วิศวกรอวกาศ หรือ Research Aerospace Engineer สังกัด Fluids and Combustion Division, NASA Glenn Research Center, Cleveland, Ohio, USA

เข้าพบ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มก.ในโอกาสเดินทางมาไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจวางระบบการสร้างเพย์โหลดสำหรับการทดลองผลึกเหลว (Liquid Crystal) ในอวกาศ

ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่าง มก.และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NASA) ในการศึกษาผลึกเหลว หรือ Liquid Crystal ในอวกาศ มี รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มก.เข้าร่วม ว่า Dr.John B Mcquillen ซึ่งเป็น Director ของ Fluids and Combustion Division, NASA Glenn Research Center

มอบหมายให้วิศวกรอวกาศ Mr.Tyler Hatch มาไทย เพื่อวางระบบการสร้างเพย์โหลดสำหรับการทดลองผลึกเหลวในอวกาศ โดย NASA Headquarter ที่กรุงวอชิงตันดีซี เป็นผู้วางแผน และอนุมัติการอินทิเกรตเชื่อมต่อเพย์โหลดนี้กับกล้องจุลทรรศน์ KERMIT ของบริษัท Leidos ซึ่งขณะนี้อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS อยู่แล้ว

วิศวกรนาซา ร่วม ม.เกษตร ภารกิจวางระบบการสร้างเพย์โหลด

“Mr.Tyler Hatch จะเป็นผู้ประสานงานร่วมกับวิศวกรจากบริษัท Leidos เพื่อวางระบบการเชื่อมต่อเพย์โหลดที่ทีมนักวิจัยจาก มก.นำโดยตน และ ผศ.ดร.อภิชาติ พัฒนโภครัตนา จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มก.และวิศวกรจาก GISTDA

นำโดย ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล และ ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน เป็นผู้ออกแบบ และสร้างขึ้นตามบันทึกความเข้าใจที่ NASA และ มก.ลงนามร่วมกัน” ผศ.ดร.ณัฐพร กล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพรกล่าวอีกว่า ขณะนี้การออกแบบได้ลงรายละเอียดการสร้างเพย์โหลดในส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อ และส่วนของฮาร์ดแวร์แล้ว เพื่อทดสอบในมาตรฐานแรกของ NASA ในการส่งอุปกรณ์ไปบนสถานีอวกาศนานาชาติที่เรียกว่า SRR หรือ Science Requirement Review

จากนั้นจึงเข้าสู่ Preliminary Design Review หรือ PDR ซึ่งเป็นมาตรฐานถัดไป จากมาตรฐานทั้งหมด 5 ระดับที่ทาง NASA ได้กำหนดไว้ในการจะอนุญาตให้อุปกรณ์ถูกนำไปเชื่อมต่อบนสถานีอวกาศนานาชาติได้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ltluk.com

UFA Slot

Releated